ความรู้อุตุนิยมวิทยาของจังหวัดสุรินทร์

ความรู้อุตุนิยมวิทยา

 

การพยากรณ์อากาศ

    หมายถึง การคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต การที่จะพยากรณ์อากาศได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ประการแรกคือความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ประการที่ สองคือสภาวะอากาศปัจจุบัน และประการสุดท้ายคือความสามารถที่จะผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองข้างต้น เข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการ เปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

                ความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ได้มาจากเฝ้าสังเกตและบันทึกไว้ มนุษย์ได้มีการสังเกตลมฟ้าอากาศมานานแล้ว เพราะมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมฟ้าอากาศโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องทราบลักษณะลมฟ้าอากาศที่เป็นประโยชน์และลักษณะอากาศที่เป็นภัย การสังเกตทำให้สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดลักษณะอากาศแบบต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศนั้นยังมีอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับปรากฎการณ์ของบรรยากาศที่มนุษย์ยังไม่มีความเข้าใจอย่างเพียงพอ ทั้งนี้เพราะอุตุนิยมวิทยาซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับบรรยากาศและปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องนั้น มีการพัฒนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาได้ไม่นานนัก โดยก่อนหน้านี้มนุษย์เชื่อว่าลมฟ้าอากาศอยู่มากมาย สภาวะอากาศปัจจุบันที่ต้องใช้เป็นข้อมูลเริ่มต้นสำหรับการพยากรณ์อากาศนั้น ได้มาจากการตรวจอากาศ ซึ่งมีทั้งการตรวจอากาศผิวพื้น การตรวจอากาศชั้นบนในระดับความสูงต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่ต้องทำการตรวจเพื่อพยากรณ์อากาศได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม เมฆ และฝน การที่จะพยากรณ์อากาศในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ต้องใช้ข้อมูลผลการตรวจอากาศในบริเวณนั้นร่วมกับผลการตรวจอากาศจากบริเวณที่อยู่โดยรอบด้วย เพราะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากพื้นที่การพยากรณ์อาจเคลื่อนตัวมามีผลต่อสภาพอากาศในบริเวณที่จะพยากรณ์ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการตรวจอากาศระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอสำหรับการพยากรณ์อากาศ นอกเหนือจากกการตรวจอากาศผิวพื้นทั้งบนพื้นดิน พื้นน้ำ และการตรวจอากาศชั้นบนแล้ว ปัจจุบันการตรวจอากาศที่ช่วยให้การพยากรณ์แม่นยำยิ่งขึ้นคือ การตรวจอากาศด้วยเรดาร์และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เมื่อมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวของลมฟ้าอากาศ และมีข้อมูลผลการตรวจอากาศแล้ว สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศได้ คือการวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจอากาศเพื่อให้ทราบลักษณะอากาศปัจจุบัน และการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศที่กำลังเกิดขั้นนั้นว่า

จะมีทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนที่อย่างไร และความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงใด นั่นคือคาดหมายว่าบริเวณที่จะพยากรณ์นั้นจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของปรากฏการณ์แบบใด แล้วจึงจัดทำคำพยากรณ์อากาศโดยพิจารณาจากลักษณะลมฟ้าอากาศที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์นั้น ๆ ต่อไป 

 

ขั้นตอนในการพยากรณ์อากาศ

                ขั้นตอนที่สำคัญสามขั้นตอนในการพยากรณ์อากาศได้แก่ การตรวจอากาศเพื่อให้ทราบสภาวะอากาศปัจจุบัน การสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูลผลการตรวจอากาศ และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการคาดหมาย ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น สามารถแบ่งขั้นตอนออกไปได้อีกคือ ขั้นตอนแรกเป็นการบันทึกผลการตรวจอากาศที่ได้รับทั้งหมด ทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ ลงบนแผนที่หรือแผนภูมิทางอุตุนิยมวิทยาชนิดต่าง ๆ เช่น แผนที่อากาศผิวพื้น แผนที่อากาศชั้นบน แผนภูมิการหยั่งอากาศ ด้วยสัญลักษณ์มาตรฐานทางอุตุนิยมวิทยา ขั้นตอนที่สองคือการวิเคราะห์ผลการตรวจอากาศที่ได้จากขั้นตอนแรก โดยการลากเส้นแสดงค่าองค์ประกอบทางอุตุนิยามวิทยา เช่น เส้นความกดอากาศเท่าที่ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพื่อแสดงตำแหน่ง และความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศเส้นทิศทางและความเร็วลมในระดับความสูงต่าง ๆ เพื่อแสดงลักษณะอากาศในระดับบน และเส้นแสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงเพื่อแสดงเสถียรภาพของบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดเมฆและฝน ขั้นตอนที่สามคือการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ของตัวระบบลมฟ้าอากาศที่วิเคราะห์ได้ในขั้นตอนที่สอง โดยใช้วิธีการพยากรณ์อากาศแบบต่าง ๆ ขั้นตอนที่สี่คือการออกคำพยากรณ์ ณ ช่วงเวลาและบริเวณที่ต้องการ โดยพิจารณาจากตำแหน่งและความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศที่ได้ดำเนินการไว้แล้วในขั้นตอนที่สาม ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือการส่งคำพยากรณ์อากาศไปยังสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อไปสู่ประชาชน และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป ตามความเหมาะสม เช่นการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ

 ระยะเวลาของการพยากรณ์อากาศ

                การพยากรณ์อากาศอาจเป็นการคาดหมายสำหรับช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า จนถึงการคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายปีจากปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของการพยากรณ์อากาศตามระยะเวลาที่คาดหมายได้ดังนี้

1  การพยากรณ์ปัจจุบัน (nowcast) หมายถึงการรายงานสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศสำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง

2     การพยากรณ์ระยะสั้นมาก คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง

3    การพยากรณ์ระยะสั้น หมายถึง การพยากรณ์สำหรับระยะเวลาเกินกว่า 12 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง3 วัน

4     การพยากรณ์อากาศระยะปานกลาง คือ การพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาที่เกินกว่า 3 วันขึ้นไปจนถึง 10 วัน

5   การพยากรณ์ระยะยาว คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 30 วัน

                โดยปกติมักเป็นการพยากรณ์ว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลานั้น

                จะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร

6   การพยากรณ์ระยะนาน คือการพยากรณ์ตั้งแต่ 30 วัน จนถึง 2 ปี ซึ่งยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด คือ

6.1 การคาดหมายรายเดือน คือการคาดหมายว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา

                 ในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิกาศอย่างไร

6.2   การคาดหมายรายสามเดือน คือการคาดหมายค่าว่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร

6.3  การคาดหมายรายฤดู คือการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยของฤดูนั้นว่าจะแตกต่างไปจากค่า

                 เฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร

7 การพยากรณ์ภูมิอากาศ คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลามากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น

7.1   การพยากรณ์การผันแปรของภูมิอากาศ คือการพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผันแปร ไปจากค่าปกติเป็นรายปีจนถึงหลายสิบปี

7.2   การพยากรณ์ภูมิอากาศคือการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคต โดยพิจารณาทั้ง สาเหตุจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์

 วิธีการพยากรณ์อากาศ

                วิธีแนวโน้ม เป็นการพยากรณ์อากาศโดยใช้ทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนที่ของระบบลมฟ้าอากาศที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อคาดหมายว่าในอนาคตระบบดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปอยู่ ณ ตำแหน่งใด วิธีใช้ได้ดีกับระบบลมฟ้าอากาศที่ไม่มีการเปลี่ยนความเร็ว ทิศทาง และความรุนแรง มักใช้วิธีนี้สำหรับการพยากรณ์ฝนในระยะเวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง การพยากรณ์ด้วยวิธีภูมิอากาศคือการคาดหมายโดยใช้ค่าเฉลี่ยจากสถิตภูมิอากาศหลายๆ ปี วิธีนี้ใช้ได้ดีเมื่อลักษณะของลมฟ้าอากาศมีสภาพใกล้เคียงกับสภาวะปกติของช่วงฤดูกาลนั้น ๆ มักใช้สำหรับการพยากรณ์ระยะนาน การพยากรณ์อากาศด้วยคอมพิวเตอร์เป็นการใช้คอมพิวเตอร์คำนวณการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง กับสภาวะของลมฟ้าอากาศ โดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลข (numerical model) ซึ่งเป็นการจำลองบรรยากาศและพื้นโลก ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนข้อจำกัดของวิธีนี้คือแบบจำลอง ไม่มีรายละเอียดครบถ้วนเหมือนธรรมชาติจริง ในทางปฏิบัติ นักพยากรณ์อากาศมักใช้วิธีการพยากรณ์อากาศหลายวิธีร่วมกันตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้

 ความผิดพลาดในการพยากรณ์อากาศ

                แม้ว่าในปัจจุบันการพยากรณ์อากาศจะก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่การพยากรณ์อากาศ ให้ถูกต้องสมบูรณ์โดยไม่มีความผิดพลาดนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้ สาเหตุสำคัญสามประการของความผิดพลาดในการพยากรณ์อากาศได้แก่ ประการแรก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางอุตุนิยมวิทยายังไม่สมบูรณ์ ประการที่สอง บรรยากาศเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่สถานีตรวจอากาศมีจำนวนน้อยและอยู่ห่างกันมาก รวมทั้งทำการตรวจเพียงบางเวลาเท่านั้น เช่น ทุก 3 ชั่วโมง ทำให้ไม่อาจทราบสภาวะที่แท้จริงของบรรยากาศได้ เมื่อไม่ทราบสภาวะอากาศที่กำลังเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพยากรณ์อากาศให้มีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง ประการสุดท้าย ธรรมชาติของกระบวนการที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ มีความละเอียดอ่อนซับซ้อนอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์ซึ่งมีขนาดเล็กหรือเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ และไม่อาจตรวจพบได้จาการตรวจอากาศ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศเป็นอย่างมากในระยะเวลาต่อมา ซึ่งจะทำให้ผลการพยากรณ์อากาศผิดพลาดไปได้อย่างมาก สาเหตุประการสุดท้ายนี้เป็นข้อจำกัดอย่างยิ่งในการพยากรณ์อากาศ เพราะเป็นเหตุให้การพยากรณ์อากาศจะมีความถูกต้องลดลงตามระ เวลานั่นคือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาที่สั้นจะมีความถูกต้องมากกว่าการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาที่นานกว่า การพยากรณ์อากาศบริเวณเขตร้อนของโลกเช่นประเทศไทย จะยากกว่าการพยากรณ์ในเขตอบอุ่นและเขตหนาวเนื่องจากจากเหตุผลหลัก 3 ประการ

ประการแรก    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนยังไม่ก้าวหน้าทัดเทียมกับอุตุนิยมวิทยาในเขตละติจูดสูง

                เพราะการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาในเขตร้อนมีน้อยกว่ามาก

ประการที่สอง  สถานีตรวจอากาศในเขตร้อนมีจำนวนน้อยกว่าในเขตอบอุ่นและเขตหนาวทำให้ผลการตรวจอากาศมีน้อยกว่า

ประการที่สาม       ลมฟ้าอากาศในบริเวณละติจูดสูงส่วนมากเป็นระบบขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากมวลอากาศที่แตกต่างกันมาพบกัน ทำให้ตรวจพบได้โดยง่าย เช่นฝนที่เกิดจากแนวปะทะอากาศมีความยาวมากกว่า 1,000 กิโลเมตรในขณะทีระบบลมฟ้าอากาศในเขตร้อนส่วนมากมีขนาดเล็ก เพราะไม่ได้เกิดจากความ แตกต่างของมวลอากาศ เช่นฝนที่ตกเป็นบริเวณแคบ ๆ

 ที่มา

http://www.surin.go.th

 

 

 

สังคมและคุณภาพชีวิตของจังหวัดสุรินทร์

ประเพณีและวัฒนธรรม

จังหวัดสุรินทร์ ประชากรร้อยละ 93 อาศัยอยู่ในเขตชนบท โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุรินทร์ และเทศบาลตำบลอีก 23 แห่ง เป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเป็นอยู่เนื่องจากประชากรที่พูดภาษาต่างกัน 3 กลุ่ม หรือ “สุรินทร์ 3 เผ่า” คือ เขมร ส่วย และลาว แต่ประชากรทั้งหมดมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีความสามัคคี ต่างได้รักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภาษาของตนไว้เป็นอย่างดี และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น 
จังหวัดสุรินทร์ มีประเพณีที่สำคัญมากมาย ได้แก่ ประเพณีบวชนาคช้าง  งานประเพณีขึ้นเขาสวาย เคาะระฆังพันใบ ไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์  งานช้างและกาชาดสุรินทร์  ประเพณีแซนโฎนตา  กันตรึม  การกวนข้าวทิพย์  การแต่งงาน หรือ แซนการ์  กะโน้ปติงตอง  เรือมอันเร หรือ ลูดอันเร  เรือมตรด  เรือมอายัย  โชง  สะบ้า  ลิเกเขมร  มโหรี  เจรียง  และ เจรียงเบริน

การศึกษา

            จังหวัดมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่เปิดการสอน ระดับอุดมศึกษา 6 แห่ง ได้แก่ ม.ราชภัฏสุรินทร์    ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ม.รามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุรินทร์ ม.มหาจุฬงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาเขตสุรินทร์ และ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา สุรินทร์ การจัดศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา แบ่งออกเป็น 3 เขตการศึกษา ในปี 2552  มีจำนวนครู 10,815 คน นักเรียน 225,530 คน และโรงเรียน 877 แห่ง โดยเฉลี่ยแล้วอัตราส่วนนักเรียนต่อครู เท่ากับ 20.85

การแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 
จังหวัดได้ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและได้ดำเนินการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามตัวชี้วัด 6X2 ประกอบด้วย ด้านการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การประหยัด อดออม การเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการเอื้ออารี มีหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ประเมิน จำนวน 2,119 หมู่บ้าน และได้ดำเนินการประเมินระดับการพัฒนาหมู่บ้านตามผ่านเกณฑ์ชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ปรากฏผลดังนี้
ระดับมั่งมี ศรีสุข จำนวน 26 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 22.61
ระดับอยู่ดี กินดี จำนวน 48 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 41.74
ระดับพออยู่ พอกิน จำนวน 41 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 35.66
หมู่บ้านที่สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 81 หมู่บ้าน และมีหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านประเม หมู่ที่ 2 ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด และบ้านกระดาด หมู่ที่ 10 ตำบลสี่เหลี่ยม อำเภอปราสาท

ที่มา

http://www.surin.go.th

ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่นของจังหวัดสุรินทร์

ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น

  • เครื่องเงิน
  • ผ้าไหม
  • ประคำ
  • หมอนขิด

 ที่มา

http://www.surin.go.th/

การละเล่นพื้นบ้าน นาฎศิลป์และดนตรีของจังหวัดสุรินทร์

การละเล่นพื้นบ้าน นาฎศิลป์และดนตรี

.-เรือมอันเร

  ประวัติคำเดิมนั้นนิยมเรียกว่า “ลูดอันเร” ซึ่ง คำว่า “ลูด” หมายถึง การเต้น หรือกระโดด ส่วนคำว่า “อันเร” หมายถึง “สาก” ซึ่งก็คือ สากตำข้าว นั่นเอง ลูดอันเร จึงหมายถึง การเต้นสาก หรือระบำสาก

ในภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการละเล่น และเรียกว่า “เรือมอันเร” โดยคำว่า เรือม หมายถึง การรำ ดังนั้น เรือมอันเร จึงหมายถึง รำสาก มีนัยบ่งบอกถึงความอ่อนโอนและนุ่มนวลกว่าเดิม

การละเล่นการเล่นเรือมอันเรนั้น นิยมเล่นหลังเสร็จฤดูเก็บเกี่ยว คือประมาณเดือนสี่ถึงเดือนห้า (ราวเดือนมีนาคม – เมษายน) อันเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ (สงกรานต์) ของชาวไทยเชื้อสายเขมรด้วยการละเล่นมักจะมีขึ้นในตอนค่ำ หลังตำข้าวหรือขณะตำข้าว เสียงกระทบของสากจะมีจังหวะสนุกสนาน ทำให้หนุ่มสาวร้องเพลงและรำด้วยกันอย่างสนุกสนาน อันเป็นการเกี้ยวพาราสีไปด้วยในภายหลังได้มีการดัดแปลงลักษณะการเต้น และการเคาะจังหวะให้มีแบบแผนมากขึ้น โดยใช้ไม้ยาววางกับพื้นแทนสาก และมีการเต้นข้ามไม้ไปมา พร้อมกับมีเพลงและทำนองเฉพาะสำหรับการละเล่นเรือมอันเรโดยเฉพาะ แต่ก็ยังมีลักษณะการละเล่นคล้ายรำวงด้วยปัจจุบันการละเล่นเรือมอันเรในท้องถิ่นในปัจจุบันพบได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมเพื่อจัดแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง อย่างไรก็ตาม ยังมีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมหลายแห่ง

 -รำตรุษ

เจรียง เบริน

กันตรึมกันตรึม เป็นรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านทางภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา คือ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด เป็นดนตรีประกอบการเต้นรำพื้นเมือง ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีได้แก่ ซอกันตรึม กลองกันตรึม และเสียงร้องเป็นภาษาเขมรเหนือ โดยในยุคหลังจะมีเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิก เช่น กีตาร์ และคีย์บอร์ด เป็นส่วนประกอบ และบ้างก็ใช้คำร้องเป็นภาษาอีสานนักร้อง นักดนตรี แนวกันตรึมที่มีชื่อเสียง เช่น เฉลิมพล มาลาคำ คง มีชัย (หรือ ร็อคคงคยดาร์กี้ กันตรึมร็อค น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์

มรดกทางธรรมชาติของจังหวัดสุรินทร์

มรดกทางธรรมชาติ

สนสองใบ

พื้นที่ระหว่างอำเภอสังขะ และอำเภอลำดวน มีป่าสนสองใบขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวสุรินทร์เรียกบริเวณนี้ว่า “ป่าพนาสน” ป่าสนสองใบที่จังหวัดสุรินทร์นี้ไม่เหมือนป่าสนทั่วๆไปเนื่องจากเป็นป่าสนที่ขึ้นอยู่บนพื้นราบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 กว่าเมตรเท่านั้น และขึ้นปะปนอยู่กับไม้เบญจพรรณ เช่น ไม้ยางนา กระบาก เหียง ตาด นนทรีป่า ประดู่ ลำดวนและมะค่าแต้ ในปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลไทยได้รับความร่วมมือจากประเทศเดนมาร์ก มอบให้กรมป่าไม้จัดตั้งเป็น สถานีอนุรักษ์พันไม้ป่าหนองคู เพื่อดำเนินการศึกษาและวิจัย และจัดการเขตอนุรักษ์พันธ์ไม้สนสองใบ ป่าสนสองใบที่บ้านหนองคูนี้ นับเป็นมรดกทางธรรมชาติที่สำคัญ และเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์

แม่น้ำมูล

แม่น้ำมูล มีต้นน้ำจากภูเขาดงพญาเย็น เขตอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ทางเขตอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การเพาะปลูก การคมนาคม นอกจากนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำต่างๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของราษฎร มีน้ำตลอดทั้งปีหากไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้ง

มรดกทางวัฒนธรรม

โบราณสถาน

โบราณวัตถุ

  • รูปเคารพและส่วนประกอบของปราสาท ได้จากชิ้นส่วนของปราสาทที่ขุดพบทั่วทั้งจังหวัดสุรินทร์ เช่น ทับหลังจำหลักกลีบขนุน ฐานเทวรูป เศียรเทวรูป พระพุทธรูปในสมัยต่างๆ เป็นต้น
  • อาวุธ พบน้อยมากในจังหวัดสุรินทร์ จะพบก็เป็นอาวุธที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์เท่านั้น เช่น หอก ดาบ ขอช้าง และง้าว
  • เครื่องประดับ พบว่าอยู่ในสมัยขอมหรือเขมรโบราณที่เรียกว่าศิลปะลพบุรี เช่น กำไล กระพรวนที่ทำด้วยสำริดและห่วงคานหามเป็นต้น
  • เครื่องถ้วยและภาชนะดินเผา พบว่าอยู่ในสมัยขอมหรือเขมรโบราณ พบที่ตำบลสวาย และอำเภอศรีณรงค์ อำเภอสังขะ เช่น ลูกประคำ ไห โถ ชาม กระปุก เป็นต้น
  • สังเค็ด เป็นสังเค็ดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้วัดจำปา เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่มา

http://th.wikipedia.org

 

 

ชาวสุรินทร์ที่มีชื่อเสียง

บุคคลในประวัติศาสตร์

  • พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม)

พระภิกษุสงฆ์ / พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์

พระราชาคณะชั้นธรรม

พระราชาคณะชั้นเทพ

พระราชาคณะชั้นสามัญ

  • พระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ม)
  • พระมงคลรังษี (หลวงปู่ธรรมรังษี) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง
  • พระสิทธิการโกศล (เมธ ปญฺญาวโร) (ป.ธ.๕, น.ธ.เอก) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เจ้าอาวาสวัดปราสาท อำเภอศีขรภูมิ
  • พระพิมลพัฒนาธร (พวน วรมงฺคโล) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง แห่งวัดมงคลรัตน์
  • พระรัตโนภาสวิมล (ชาลี โชติธมฺโม) อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดกลางรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี
  • พระศรีวิสุทธิคุณ (มานพ ปิยสีโล) (ป.ธ.๙, พธ.บ., อ.ม.) รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ม) วัดศาลาลอย (พระอารามหลวง)
  • พระพิศาลศาสนกิจ (เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธ) เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานจาโร อำเภอบัวเชด
  • พระโสภณปริยัตยาภรณ์ (ฉัตต์ สจฺจวโร ) รองเจ้าคณะสุรินทร์ (ม) รูปที่ ๒ เจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์
  • พระปริยัติวรคุณ (สุคนธ์ คนฺธวํโส) (น.ธ.เอก,ป.ธ.๖)อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์รูปที่ ๒ (ม)

พระครูสัญญาบัตร

ข้าราชการ

  • นายเสนอ มูลศาสตร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์

นักการเมือง

นักกีฬา

ผู้กำกับ/นักแสดง/ผู้ดำเนินรายการ

บุคคลทางศิลปวัฒนธรรม

  • นายบุญเรือง คัชมาย์ ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและผู้เชี่ยวชาญด้านเขมรศึกษา

นักร้อง/นักดนตรี

  • เฉลิมพล มาลาคำ นักร้อง นักแต่งเพลงหมอลำที่มีชื่อเสียง หัวหน้าคณะ “เฉลิมพล มาลาคำ”
  • น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ นักร้องเพลงพื้นบ้านกันตรึม
  • สุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน) นักร้องนำ/ผู้ก่อตั้งวงคาราวาน/นักแต่งเพลง/นักแสดง
  • วงวรมันต์ วงเจ้าของเพลงคนสุรินทร์เหลา
  • นายสมชาย คงสุขดี หรือ “ดาร์กี้กันตรึมร๊อค” ศิลปินเพลงพื้นบ้าน/ปราชญ์ท้องถิ่น /นักแต่งเพลง
  • นายพิสิฐพงศ์ กิ่งแก้ว หรือ ไม้ พิสิฐพงศ์ กิ่งแก้ว ศิลปินลูกทุ่งเพื่อชีวิต / นักแต่งเพลง

ที่มา

http://th.wikipedia.org

สถาบันการศึกษาของจังหวัดสุรินทร์

ระดับอุดมศึกษา

ระดับอาชีวศึกษา

 

 ที่มา

http://dir.sanook.com

การปกครองของจังหวัดสุรินทร์

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบ่งออกเป็น 17 อำเภอ 158 ตำบล 2011 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีจำนวน 174 แห่ง แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, 1 เทศบาลเมือง, 25 เทศบาลตำบล และ 148องค์การบริหารส่วนตำบล 

ที่มา

http://th.wikipedia.org

ประชากร จังหวัดสุรินทร

 

ประชากร

จังหวัดสุรินทร์มีประชากรทั้งสิ้น 1,377,827 คน แยกเป็นชาย 689,305 คน หญิง 688,522 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 170 คน/ตร.กม. (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ) สรุปได้ว่าจังหวัดสุรินทร์มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 9 ของประเทศไทย และมีความหนาแน่นเฉลี่ยเป็นลำดับที่ 18 ของประเทศไทย

ชาวไทยเขมร

มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ รวมไปถึงนครราชสีมาบางพื้นที่ มีภาษาพูดและอักษรเป็นของตนเอง ภาษาเขมรป่าดงเหมือนภาษาเขมรในกัมพูชา แต่เสียงเพี้ยนกันอยู่บ้าง มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นของตนเอง เขมรป่าดงแต่เดิมนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ผสมกับศาสนาพราหมณ์ และเทวนิยมดั้งเดิม

ชาวไทยกูย

ส่วย หรือกูยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ “ข่า” อีกกลุ่มหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายชนเผ่าเขมรมาก ภาษาก็ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ อุบลธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์บางส่วน ส่วยไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทราบเพียงว่า แต่เดิมอยู่ในกัมพูชา นิยมพูดภาษาเป็น 2 กลุ่ม คือ ลาวส่วย อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี และเขมรส่วยบางส่วนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ชาวไทยกูย หรือส่วยอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดที่อำเภอ ศรีขรภูมิ สำโรงทาบ จอมพระ สังขะ บัวเชด ศรีณรงค์ สนม ท่าตูม บางส่วนของอำเภอเมือง เขวาสินรินทร์ และกาบชาวไทยอีสาน

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสุรินทร์ จึงมีเชื้อสายไทยอีสานเหมือนกับหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยได้ใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่เมือนกันกับชาวไทยอีสานโดยทั่วไป แต่ก็จะมีอยู่ที่แตกต่างในเรื่องของภาษาบ้างในแต่ละ ชาวไทยจีน

ชาวจีนส่วนใหญ่ที่อพยพเข้ามาก่อตัวเป็นชุมชนขึ้นในจังหวัดสุรินทร์นั้น สาเหตุหลักๆ มาจากปัญหาการลี้ภัยสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน นับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติประชาธิปไตยสมัย ดร.ซุนยัดเซ็น การปฏิวัติคอมมิวนิสต์นำโดยเหมา เจ๋อ ตง และสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นบุกจีน ที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 54 ปี ในระหว่าง พ.ศ. 2438 – 2492 ทำให้ประชาชนเดือดร้อนลำเค็ญ โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวจีนในจังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ได้อพยพลี้ภัยเข้ามายังเมืองไทยเป็นจำนวนมาก สายหนึ่งมาทางเรือ ขึ้นฝั่งที่เมืองบางกอก อีกสายหนึ่งผ่านเข้ามาทางเวียดนามและลาว ชุมชนชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสุรินทร์อาจแบ่งออกเป็นสองช่วงใหญ่ๆ ได้แก่ ก่อนการสร้างทางรถไฟผ่านเมืองสุรินทร์ และหลังจากทางรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์

ที่มา

https://sites.google.com