สังคมและคุณภาพชีวิตของจังหวัดสุรินทร์

ประเพณีและวัฒนธรรม

จังหวัดสุรินทร์ ประชากรร้อยละ 93 อาศัยอยู่ในเขตชนบท โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุรินทร์ และเทศบาลตำบลอีก 23 แห่ง เป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเป็นอยู่เนื่องจากประชากรที่พูดภาษาต่างกัน 3 กลุ่ม หรือ “สุรินทร์ 3 เผ่า” คือ เขมร ส่วย และลาว แต่ประชากรทั้งหมดมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีความสามัคคี ต่างได้รักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภาษาของตนไว้เป็นอย่างดี และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น 
จังหวัดสุรินทร์ มีประเพณีที่สำคัญมากมาย ได้แก่ ประเพณีบวชนาคช้าง  งานประเพณีขึ้นเขาสวาย เคาะระฆังพันใบ ไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์  งานช้างและกาชาดสุรินทร์  ประเพณีแซนโฎนตา  กันตรึม  การกวนข้าวทิพย์  การแต่งงาน หรือ แซนการ์  กะโน้ปติงตอง  เรือมอันเร หรือ ลูดอันเร  เรือมตรด  เรือมอายัย  โชง  สะบ้า  ลิเกเขมร  มโหรี  เจรียง  และ เจรียงเบริน

การศึกษา

            จังหวัดมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่เปิดการสอน ระดับอุดมศึกษา 6 แห่ง ได้แก่ ม.ราชภัฏสุรินทร์    ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ม.รามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุรินทร์ ม.มหาจุฬงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาเขตสุรินทร์ และ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา สุรินทร์ การจัดศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา แบ่งออกเป็น 3 เขตการศึกษา ในปี 2552  มีจำนวนครู 10,815 คน นักเรียน 225,530 คน และโรงเรียน 877 แห่ง โดยเฉลี่ยแล้วอัตราส่วนนักเรียนต่อครู เท่ากับ 20.85

การแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 
จังหวัดได้ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและได้ดำเนินการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามตัวชี้วัด 6X2 ประกอบด้วย ด้านการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การประหยัด อดออม การเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการเอื้ออารี มีหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ประเมิน จำนวน 2,119 หมู่บ้าน และได้ดำเนินการประเมินระดับการพัฒนาหมู่บ้านตามผ่านเกณฑ์ชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ปรากฏผลดังนี้
ระดับมั่งมี ศรีสุข จำนวน 26 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 22.61
ระดับอยู่ดี กินดี จำนวน 48 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 41.74
ระดับพออยู่ พอกิน จำนวน 41 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 35.66
หมู่บ้านที่สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 81 หมู่บ้าน และมีหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านประเม หมู่ที่ 2 ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด และบ้านกระดาด หมู่ที่ 10 ตำบลสี่เหลี่ยม อำเภอปราสาท

ที่มา

http://www.surin.go.th

ใส่ความเห็น