การละเล่นพื้นบ้าน นาฎศิลป์และดนตรีของจังหวัดสุรินทร์

การละเล่นพื้นบ้าน นาฎศิลป์และดนตรี

.-เรือมอันเร

  ประวัติคำเดิมนั้นนิยมเรียกว่า “ลูดอันเร” ซึ่ง คำว่า “ลูด” หมายถึง การเต้น หรือกระโดด ส่วนคำว่า “อันเร” หมายถึง “สาก” ซึ่งก็คือ สากตำข้าว นั่นเอง ลูดอันเร จึงหมายถึง การเต้นสาก หรือระบำสาก

ในภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการละเล่น และเรียกว่า “เรือมอันเร” โดยคำว่า เรือม หมายถึง การรำ ดังนั้น เรือมอันเร จึงหมายถึง รำสาก มีนัยบ่งบอกถึงความอ่อนโอนและนุ่มนวลกว่าเดิม

การละเล่นการเล่นเรือมอันเรนั้น นิยมเล่นหลังเสร็จฤดูเก็บเกี่ยว คือประมาณเดือนสี่ถึงเดือนห้า (ราวเดือนมีนาคม – เมษายน) อันเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ (สงกรานต์) ของชาวไทยเชื้อสายเขมรด้วยการละเล่นมักจะมีขึ้นในตอนค่ำ หลังตำข้าวหรือขณะตำข้าว เสียงกระทบของสากจะมีจังหวะสนุกสนาน ทำให้หนุ่มสาวร้องเพลงและรำด้วยกันอย่างสนุกสนาน อันเป็นการเกี้ยวพาราสีไปด้วยในภายหลังได้มีการดัดแปลงลักษณะการเต้น และการเคาะจังหวะให้มีแบบแผนมากขึ้น โดยใช้ไม้ยาววางกับพื้นแทนสาก และมีการเต้นข้ามไม้ไปมา พร้อมกับมีเพลงและทำนองเฉพาะสำหรับการละเล่นเรือมอันเรโดยเฉพาะ แต่ก็ยังมีลักษณะการละเล่นคล้ายรำวงด้วยปัจจุบันการละเล่นเรือมอันเรในท้องถิ่นในปัจจุบันพบได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมเพื่อจัดแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง อย่างไรก็ตาม ยังมีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมหลายแห่ง

 -รำตรุษ

เจรียง เบริน

กันตรึมกันตรึม เป็นรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านทางภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา คือ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และร้อยเอ็ด เป็นดนตรีประกอบการเต้นรำพื้นเมือง ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีได้แก่ ซอกันตรึม กลองกันตรึม และเสียงร้องเป็นภาษาเขมรเหนือ โดยในยุคหลังจะมีเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิก เช่น กีตาร์ และคีย์บอร์ด เป็นส่วนประกอบ และบ้างก็ใช้คำร้องเป็นภาษาอีสานนักร้อง นักดนตรี แนวกันตรึมที่มีชื่อเสียง เช่น เฉลิมพล มาลาคำ คง มีชัย (หรือ ร็อคคงคยดาร์กี้ กันตรึมร็อค น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์

ใส่ความเห็น