เทศกาลในจังหวัดสุรินทร์

เทศกาลปลาไหล จังหวัดสุรินทร์

เทศกาลปลาไหล จัดขึ้นในสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคมของทุกปี หลังจากได้มีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ เป็นช่วงที่ปลาไหลเจริญเติบโต เกษตรกรสามารถจับปลาไหลได้ในปริมาณมาก และเป็นที่นิยมบริโภค เนื่องจากลำตัวโตสีเหลือง ไม่มีกลิ่นคาว ลำตัวถึงโคนหางกลมอวบ

เทศกาลปลาไหล จังหวัดสุรินทร์

เทศกาลปลาไหล จัดขึ้นที่บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ในสัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม ของทุกปี หลังจากได้มีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ เป็นช่วงที่ปลาไหลเจริญเติบโต เกษตรกรสามารถจับปลาไหลได้ในปริมาณมาก และเป็นที่นิยมบริโภค เนื่องจากลำตัวโตสีเหลือง ไม่มีกลิ่นคาว ลำตัวถึงโคนหางกลมอวบ เป็นช่วงคลายความเหนื่อยล้าจากฤดูเก็บเกี่ยวได้ดี

อำเภอชุมพลบุรีเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ตั้งอยู่ทางทิศเหนือห่างจากจังหวัด 91 กิโลเมตร เป็นแหล่งข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งปลอดสารเคมีและสารพิษ ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยมีลักษณะเฉพาะคือ หอม ยาว ขาว นุ่ม มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1.2 แสนตันต่อปี นอกจากนี้พื้นที่ของอำเภอชุมพลบุรีเป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำขนาบ 2 ส่วน คือ ลำพลับพลา และลำน้ำมูล ซึ่งเหมาะแก่การประกอบการเกษตร การดำรงชีวิต และขยายพันธุ์ปลา โดยเฉพาะปลาไหลธรรมชาติ ซึ่งในแต่ละปีเกษตรกรสามารถจับปลาไหลมาบริโภคและจำหน่ายมีน้ำหนักรวมกันไม่ น้อยกว่า 5 ตันต่อปี ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป หลังจากที่ได้มีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเป็นช่วงที่ปลาไหลเจริญเติบโตเหมาะ แก่การบริโภค เกษตรกรสามารถจับปลาไหลได้ในปริมาณมาก โดยปลาไหลของ อ.ชุมพลบุรี เป็นปลาไหลธรรมชาติ มีลักษณะตัวโตสีเหลือง ลำตัวถึงโคนหางกลมอวบ ไม่มีกลิ่นคาวเป็นที่นิยมบริโภค

เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล อำเภอชุมพลบุรี จึงได้ริเริ่มจัดงานเทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ และงานกาชาดขึ้น กิจกรรมในงานประกอบด้วยขบวนแห่ตกแต่งด้วยเม็ดข้าวหอมมะลิ และขบวนฟ้อนรำ การแข่งขันขี่ช้างจับปลาไหล การแข่งขันจับปลาไหล การประกวดข้าวหอมมะลิ การประกวดผ้าไหม การแข่งขันเรือพายไม่เกิน 8 ฝีพาย การแข่งขันตำข้าว-ช้างตำข้าว การแข่งขันหุงข้าวแบบโบราณ การประกวดสำรับอาหารรสเด็ดจากปลาไหล นิทรรศการของดีเมืองปลาไหล นิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียง การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของดีเมืองปลาไหล รวมทั้งมหรสพ เช่น การแสดงหมอลำ และการเดินแบบแฟชั่นผ้าไหม

ที่มา

http://www.hoteldirect.in.th/

ทรัพยากรจังหวัดสุรินทร์

     
รูปภาพ
 
         ทรัพยากรป่าไม้จังหวัดสุรินทร์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ป่าไม้ ซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งจังหวัดประมาณ 1,434,001 ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์เหลืออยู่ประมาณ 187,343  ไร่ จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่ โดยสามารถแยกได้ดังนี้ คือ เขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 26 ป่า วนอุทยาน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่ง คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ-ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่อำเภอพนมดงรัก อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่ (เอกสารบรรยายสรุปจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2540) มีการตัดไม้ทำลายป่าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการบุกรุก แผ้วถาง เพื่อการเกษตรกรรม ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก และยังมีป่าไม้กระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอลำดวน และอำเภอศีขรภูมิ ต้นไม้ที่มีอยู่โดยทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ต้นเต็ง รัง ยาง ประดู่ พะยูง ตาด แดง กะบาก และอื่น ๆ รวมทั้ง ต้นมันปลา หรือต้นกันเกรา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ จากการที่ป่าไม้ถูกทำลายมาก จึงมีการปลูกป่าทดแทน หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อการใช้สอย เช่น ต้นกระถินณรงค์ ต้นยางพารา ต้นตะกู และต้นยูคาลิปตัส เป็นต้น
                 ทรัพยากรสัตว์ป่าจังหวัดสุรินทร์มีทรัพยากรสัตว์ป่าอยู่มากมายทั่วทั้งจังหวัด แต่ปัจจุบันนี้สัตว์ป่าจะมีอยู่เฉพาะตามพื้นที่ป่าที่อนุรักษ์ไว้และอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเท่านั้น ส่วนสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ในปัจจุบันที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ได้แก่ เก้ง กวาง ลิ่น วัวแดง กระจง ลิง ค่าง ชะนี เสือโคร่ง เลียงผา อีเห็น แมวดาว ชะมด เม่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูป่า และกระจงมีอยู่จำนวนมากทั่วพื้นที่ สัตว์ที่มีลักษณะเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ เก้ง และที่พบเห็นในวนอุทยานพนมสวาย ได้แก่ กระรอก กระต่ายป่า สัตว์ปีกมีบ้างแต่ไม่มากนักได้แก่ นกกระเต็น บ่าง นกกระทาดง นกกวัก นกกระปูด นกกางเขนดง นกเขาหลวง นกเป็ดน้ำและนกเหยี่ยว และที่พบในวนอุทยานป่าสนหนองคู ได้แก่ กระรอก บ่าง กระต่ายป่า งู แย้ และนกเขา นกกะปูด นกเอี้ยง บางครั้งก็จะมีพบนกเงือกมาอยู่บ้าง และยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่สามารถพบเห็นได้ในป่าชุมชนต่างๆที่มีการอนุรักษ์ผืนป่าไว้
             ทรัพยากรน้ำจังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สาย คือ แม่น้ำมูล ลำน้ำชีน้อย ลำห้วยอารีย์ ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยสำราญ และลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์แก่จังหวัดนอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำอื่น ๆ ในเขตอำเภอต่าง ๆ รวมถึงแหล่งน้ำอื่นที่ไม่เอื้อประโยชน์มากนัก เนื่องจากในฤดูแล้งไม่มีน้ำอีกเป็นจำนวนมาก
                ทรัพยากรธรณีจังหวัดสุรินทร์มีทรัพยากรทางธรณีที่สำคัญ ได้แก่ ทรายแม่น้ำมูล พบที่อำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี บ่อหินลูกรัง พบที่ อำเภอท่าตูม อำเภอสำโรงทาบ อำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอสังขะ หินภูเขา เป็นหินภูเขาที่ได้จากเขาสวาย ท้องที่ตำบลสวาย และตำบลนาบัว สำหรับป้อนโรงงานโม่หินเพื่อใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง
ที่มา

การคมนาคมของจังหวัดสุรินทร์

ทางรถยนต์

การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดสุรินทร์ใช้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ แยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 (ตรงแยกอำเภอปราสาท) จนถึงจังหวัดสุรินทร์

การเดินทางในตัวจังหวัด

การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดสุรินทร์ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภอชุมพลบุรี ระยะทาง 91 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 2 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอเขวาสินรินทร์ ระยะทาง 14 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 30 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองสุรินทร์) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เรียงจากใกล้ไปไกล ดังนี้

สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถเมล์ชมพู ตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง/สามล้อปั่น บริการในจังหวัดสุรินทร์ มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่อจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ ดังนี้คือ

ทางรถไฟ

การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯสุรินทร์ โดยผ่านจังหวัดปทุมธานี อยุธยา สระบุรีนครราชสีมา บุรีรัมย์ จนถึงสุรินทร์ เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพ-สุรินทร์ โดยมีตารางการเดินรถไฟดังนี้

ทางอากาศ

การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดสุรินทร์มีท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี ซึ่งในอดีตได้เปิดทำการบินโดยบริษัท บางกอกแอร์เวย์แอร์อันดามัน– พีบีแอร์ซึ่งเมื่อปลายปี 2552 สายการบินพีบีแอร์จะเปิดทำการบิน แต่เนื่องจากทางบริษัทประสบปัญหาทางหารเงินจึงได้ปิดกิจการไปก่อน จึงไม่สมารถทำการบินได้ แต่ว่าในอนาคตนี้น่าจะได้ทำการบินอีกครั้ง และได้ปรุบปรุงสนามบินทุกอย่าง และในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554 ได้มีสายการบิน ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์ ได้ทำการบินทุกวัน วันละ 2 เที่ยว

ทางอากาศ

การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดสุรินทร์มีท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี ซึ่งในอดีตได้เปิดทำการบินโดยบริษัท บางกอกแอร์เวย์แอร์อันดามัน– พีบีแอร์ซึ่งเมื่อปลายปี 2552 สายการบินพีบีแอร์จะเปิดทำการบิน แต่เนื่องจากทางบริษัทประสบปัญหาทางหารเงินจึงได้ปิดกิจการไปก่อน จึงไม่สมารถทำการบินได้ แต่ว่าในอนาคตนี้น่าจะได้ทำการบินอีกครั้ง และได้ปรุบปรุงสนามบินทุกอย่าง และในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554 ได้มีสายการบิน ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์ ได้ทำการบินทุกวัน วันละ 2 เที่ยว

ที่มา

http://th.wikipedia.org

สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์

สภาพทางเศรษฐกิจ

    โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์ขึ้นอยู่กับด้านการขายส่ง ขายปลีก ด้านการเกษตรและด้านการศึกษาเป็นสำคัญตามลำดับ โดยมีสัดส่วนตามโครงสร้าง GPP ณ ระดับราคาคงที่ในปี พ.ศ.2551 (P1) ร้อยละ 25.06 , 22.05 และ 9.66 ตามลำดับ

     ในเดือนเมษายน 2553 เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสุรินทร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพิจารณาจาก ด้านอุปสงค์ การบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากจำนวนจดทะเบียนรถยนต์นั่งปริมาณ การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และจำนวนจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีกำลังซื้อรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเกินดุล การใช้จ่ายภาครัฐด้านรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายงบลงทุนลดลง

     ด้านการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นพิจารณาได้จากทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ จำนวนรถยนต์พาณิชย์จดทะเบียนใหม่ และพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านอุปทาน รายได้ภาคนอกการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสุรินทร์ จำนวนทุนจดทะเบียนของอุตสาหกรรมและจำนวนแรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

     ด้านการเงิน เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสินเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ด้านการจ้างงาน จำนวนลูกจ้างในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นและมีตำแหน่งงานว่างรอการบรรจุเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

 

 ที่มา

http://www.surinlocal.go.th/center/website/management/website_dragdrop/index_menu.php?site=996&page_id=25288&control=

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นของจังหวัดสุรินทร์

การตั้งถิ่นฐาน

จากหลักฐานที่พบภาชนะดินเผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณจังหวัดสุรินทร์ และพบแหล่งชุมชนโบราณหลายแห่ง ย่อมแสดงให้เห็นว่า ในบริเวณจังหวัดสุรินทร์มีผู้คนอาศัยนานมาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ในปีพ.ศ. 2538 นายเจริญ ไวรวัจยกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พร้อมคณะได้ศึกษาและเก็บข้อมูลชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ห้วยลำพลับพลาด้านบนและลำน้ำมูลด้านใต้ เนื่องจากพบเนินสูงๆ ต่ำๆ อยู่เป็นจำนวนมาก จากการสำรวจสันนิษฐานว่าเนินเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง

ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์

เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ดังที่จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2469

ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา

เขมรเป็นชนพื้นเมืองที่เพิ่งอพยพเข้ามาอยู่ในสมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ภายหลังได้ผสมกลมกลืนกับชาวส่วยซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิมและได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า พวกเขมรป่าดง (ข่า-เขมร) ส่วนพวกลาวนั้นอพยพเข้ามาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ราวพุทธศักราช 2257-2261สมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางการเมืองทำให้กัมพูชาตกอยู่ในฐานะประเทศราชและในระหว่างปีพุทธศักราช 2103อาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พุทธศักราช 2091-2111) กษัตริย์ของลาวได้สร้างนครเวียงจันทร์เป็นเมืองหลวงของล้านช้าง

สมัยกรุงธนบุรี

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบบเทศาภิบาลจนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล

ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์

ศาลหลักเมืองสุรินทร์

อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีฯ

วนอุทยานพนมสวาย

ปราสาทเมืองที

หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม

หมู่บ้านจักสานบุทม

ปราสาทบ้านไพล

ปราสาทหินบ้านพลวง

ปราสาทศรีขรภูมิ

ปราสาทบ้านช่างปี่

ปราสาทตะเปียงเตีย

เขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้สนสองใบ

ปราสาทภูมิโปน

ปราสาทยายเหงา

ปราสาทจอมพระ

หมู่บ้านช้าง

ตลาดการค้าช่องจอม

บ้านทำเครื่องเงิน

ปราสาทตาเมือนโต๊ด

ปราสาทตาเมืองธม

ที่มา

http://www.paiduaykan.com/province/Northeast/surin/festival.html

 

ภูมิประเทศของจังหวัดสุรินทร์

ภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทิศเหนือ ทำให้จังหวัดสุรินทร์มีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญคือ
  1. พื้นที่สูงและภูเขาทางตอนใต้
  2. พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด
  3. พื้นที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำมูล

สิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์

รูปภาพ

จังหวัด สุรินทร์ มีการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีชุมชนเมือง (ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์) ที่อยู่อย่างแออัด มียานพาหนะมากส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจร โดยเฉพาะบริเวณตลาดสดในเขตเทศบาล และบริเวณสถานศึกษา มีผลกระทบทางด้านมลภาวะบ้าง แต่ไม่รุนแรงนัก ปัญหาขยะและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างน้อย เพราะได้รับการเอาใจใส่ ดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โรงงานอตสาหกรรมส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์

 ที่มา

https://sites.google.com/site/53011321022inetg5/canghwad-surinthr/thi-tang/sing-waedlxm-canghwad-surinthr

ประวัติการกีฬาของจังหวัดสุรินทร์

สโมสรฟุตบอลสุรินทร์

ช้างศึก สโมสรฟุตบอลสุรินทร์ ซิตี้ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันเล่นใน ลีก ดิวิชั่น 2

ทีมฟุตบอลของสุรินทร์ในอดีตเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2527 ถือได้ว่าสุรินทร์มีอดีตที่น่าจดจำและเราจะขอนำท่านกลับไประลึกถึงอดีตเพื่อ นำกลับมาสู่ปัจจุบัน โดยเริ่มมาจากฟุตบอลดิวิชั่น 1 ซึ่งจัดให้มีการแข่งขันที่ประเทศอังกฤษ ที่กลุ่มประเทศทางทวีปยุโรปและที่อเมริกานั้น มีประวัติเป็นตำนานการแข่งขันมานานนับร้อยปี การแข่งขันฟุตบอลลักษณะนี้ได้ก่อให้เกิดอาชีพต่างๆ แก่ประชาชนประเทศนั้นๆ เช่น อาชีพนักฟุตบอล อาชีพโค้ช และอาชีพอื่น ๆ อีกมากมายทั้งยังเป็นการพัฒนาร่างกายและจิตใจให้ประชาชนได้เคารพและยอมรับ ระเบียบกฎและกติกาต่างๆ ที่นำมาใช้ในการแข่งขัน และทุกๆบ่ายวันเสาร์ที่สนามฟุตบอลยังเป็นสถานที่ที่จะพบปะสังสรรค์และพัก ผ่อนหย่อนใจของประชาชนที่เป็นแฟนฟุตบอลในท้องถิ่นนั้นๆ พวกเขาจะได้แสดงออกถึงความพร้อมเพรียงและสามัคคีกันส่งเสียงเชียร์ทีมลีกใน ท้องถิ่นของตนอย่างสนุกสนานและชื่นมื่นในอารมณ์ ด้วยสาเหตุเหล่านี้จึงมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เล็งเห็นความสำคัญของการ แข่งขันฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลไทยซอคเกอร์ลีกขึ้นมาเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย

การเทคโอเวอร์สโมสร

ในปีที่ 4 ฤดูกาล พ.ศ. 2555 เลก 2 สโมสรฟุตบอลสุรินทร์ โดยมีคุณพูนพล กมุทติรา เป็นผู้จัดการทีมเช่นเคย ได้เกิดประสบปัญหาเรื่องการเงิน มานานโดยได้ปล่อยนักเตะไปเกือบหมด จนเหลือเพียงแค่ 11 คน และต่อมาคุณพูนพล กมุทติรา ได้ประกาศหาผู้ที่จะมาบริหารทีมแทนตนเอง แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะมาบริหารทีมแทนคุณพูนพล กมุทติรา และในก่อนวันที่สุรินทร์ เอฟซี จะลงเตะในศึกโตโยต้า ลีกคัพ ที่พบกับ ทีมวัวชน ยูไนเต็ด ทีมจากไทยพรีเมียร์ลีก เพียง 3 วัน คุณสันติชัย คงเถลิงศิริวัฒนา นายอำเภอเมืองสุรินทร์ ซึ่งเป็นชาวสุรินทร์โดยแท้ ได้เข้ามาบริหารทีมแทน และวางงบประมาณไว้จำนวนหนึ่ง และได้จัดวางระบบการทำงานเป็น 4 ฝ่าย คือ

  1. ฝ่ายบริหารการเงิน
  2. ฝ่ายธุรการ
  3. ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์
  4. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

 ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/

จังหวัดสุรินทร์

รูปภาพ

ประวัติ

สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากจังหวัดหนึ่ง โดยสันนิษฐานว่าดินแดนจังหวัดสุรินทร์แห่งนี้ 
ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมามีอำนาจเหนือพื้นที่แห่งนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง 
เมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนเกิดกลายเป็นดงขึ้นมา จนกระทั่งถึงปี พุทธศักราช 2306 จึงปรากฎหลักฐานว่า 
หลวงสุรินภักดี(เชียงปุม)ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้า 
จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้ง 
ของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันเนืองจากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมอย่างยิ่งมีกำแพงล้อมรอบถึง 2 ชั้น 
มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน 
จึงได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทายเป็น” เมืองประทายสมันต์ ” และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็น 
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง 
       ในปี พุทรศักราช 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 
ให้เปลี่ยนชื่อ ” เมืองประทายสมันต์ ” เป็น ” เมืองสุรินทร์ ” ตามบรรดาศักดิ์ของเจาเมือง

ที่ตั้งของจังหวัด

 

จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก 
และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ            ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้              ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

………….ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน
จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ – ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่

 

*** ที่มา http://www.welcometosurin.4t.com/psurin.htm***